Learning Log 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management For Early Childhood
วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ.2560




ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ได้ให้พวกเราแบ่งกลุ่มกันเป็น 2 กลุ่มจำนวนเท่าๆกันแล้วให้พวกเราหานักทฤษฎีที่พูดถึงพัฒนาการด้านสติปัญญา โดยกลุ่มแรกได้ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของบรูเนอร์ และกลุ่มของข้าพเจ้าได้ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจต์ ซึ่งพวกเราทุกคนก็ได้ทำการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากมีเวลาที่จำกัด โดยอาจารย์ได้กำหนดหัวข้อหลักๆเอาไว้ 4 หัวข้อ คือ

  1.  ความหมายหรือแนวคิด
  2. ความสำคัญ
  3. ลำดับขั้นพัฒนาการ
  4. การนำไปประยุกต์ใช้




                                                      กลุ่มที่ 1 ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของบรูเนอร์
แนวคิด 
พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเกิดจากกระบวนการภายในอินทรีย์ เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก
ลำดับขั้นพัฒนาการ
ขั้นที่ 1 : ขั้นการกระทำ คือ เรียนรู้จากการกระทำและสัมผัส
ขั้นที่ 2 : ขั้นจินตนาการคือ การเกิดความคิดจากการรับรู้
ขั้นที่ 3 : ขั้นใช้สัญลักษณ์และความคิดรวบยอด คือ เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ และพัฒนาความคิดรวบยอด
สรุป
ทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ โดยผ่านขั้นความคิด 3 ขั้น ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต




กลุ่มที่ 2 ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์

ความหมาย
การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะเป็นไปตามวัยอย่างเป็นลำดับขั้น ไม่ควรเร่งพัฒนาการเด็ก
ลำดับขั้นพัฒนาการ
1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (เริ่มตั้งแต่แรกเกิด-2ปี) เด็กวัยนี้ชอบเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ สามารถใช้มือประสานกับตาได้
2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (เริ่มตั้งแต่ 2-7ปี) แบ่งย่อยออกเป็น 2 ขั้น
   -ขั้นก่อนเกิดสังกัป (ช่วงอายุ 2-4ปี) เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ได้ แต่ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆยังอยู่ในระดับเบื้องต้น
   -ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (ช่วงอายุ 4-7ปี) นึกออกเองโดยไม่ต้องใช้เหตุผล เริ่มมีการพัฒนาเกี่ยวกับการอนุรักษ์
3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (อายุ 7-11 ปี) เด็กจะมีความสามารถคิดแบบมีเหตุผล
4.ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (อายุ 11-15 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น